วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ISDN

ISDN คืออะไร
Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน

การใช้งาน นอกเหนือจากการนำมาใช้ Internet ด้วยความเร็วสูงแล้ว เรายังสามารถนำ ISDN มาใช้ในลักษณะของ Video Conferrent หมายถึง การประชุมระหว่างประเทศ หรือจังหวัด โดยสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน

บริการของ ISDN แบ่งได้ 2 ประเภท
  • Individual
    เหมาะสำหรับตามบ้าน หรือองค์กรที่ไม่มีระบบ LAN หรือ หมายถึงผู้ใช้งานคนเดียว



  • Corporate หรือ LAN
    เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน internet ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน

ขั้นตอนการขอใช้บริการ ISDN
  • ขอติดตั้งบริการ ISDN จากองค์การโทรศัพท์
  • ซื้ออุปกรณ์ ISDN modem หรือ ISDN Router
  • สมัครสมาชิกกับ บริษัทที่ให้บริการ internet หรือ ISP
เพิ่มเติม
  • กรณีใช้งาน ISDN ร่วมกับโทรศัพท์ ความเร็วจะถูกลดลงเหลือ 64 kbps
  • ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน ครั้งละ 3 บาท
  • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การหมุนโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา
ISDN (Integrated Services Digital Network)

เป็น ระบบที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสารที่เป็น Circuit Switched แบบ digital ซึ่งถูกใช้งานมานานนับสิบปี ระบบนี้ยอมให้มีการส่งข้อมูล ภาพวีดีโอ ไปพร้อมๆกับเสียงด้วยความเร็วสูง ถูกตั้งเป็นมาตรฐานโดย ITU-T ในการพัฒนาระบบ PSTN (Public Switched Telephone Network) ให้เป็นการให้บริการแบบ Digital ที่มีความเร็วเหนือกว่า Modem ทั่วไป ในระบบ ISDN จะแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วนคือส่วน Bearer channel และ Data หรือ Delta Channel โดย Bearer channels (B channels) ทำหน้าที่ให้บริการ เสียง วีดีโอ หรือการส่งถ่ายข้อมูล ในขณะที่ Data Channel (D channel) นั้นเป็นตัวจัดการสัญญาณเรียกเข้าในระบบ network และการตอบรับ กำหนดเบอร์เรียกเข้า
การฬช้บริการ ISDN แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ Basic Rate Interface (BRI) และ Primary Rate Interface (PRI) ในส่วนของ BRI นั้นจะใช้ 2 B channel คือ 64 kbps นั้นคือ 128 Kbps และใช้ 1 D channel 16 kbps รวมแล้วจะได้ bandwidth 144 kbps การบริการของ BRI นั้นเน้นที่ผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ใช่ในระดับองค์กร
ส่วนของ PRI นั้นจะเน้นการใช้งานในระดับองค์กรที่ไม่ใหญ่มากนักเพราะจะมี Bandwidth ที่มากกว่า และส่งข้อมูลได้ทีละมากๆ ที่ PRI จะใช้ 23 B channel และ 1 D channel plus 64 kbps รวมแล้วจะได้ถึง 1536 kbps ในแถบ Europe นั้น PRI จะใช้ 30 B channel และ 1 D channel 64 kbps Bandwidth 2048 kbps หรือ 2 Mbps

ส่วนประกอบที่ใช้ในระบบ ISDN

1. ISDN Terminal Equipment
มี 2 ชนิดคือ TE1 และ TE2 โดย TE1 นั้นคืออุปกรณ์นั้นจะต้องเป็นโทรศัพท์ที่เป็นระบบ ISDN อยู่แล้วโดยสายจะเป็น 4 เส้นตีเกลียว ส่วน TE2 นั้นจะเป็นโทรศัพท์บ้านทั่วไปซึ่งถ้าจะใช้งานแบบ ISDN ต้องมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า TA

2. ISDN Termination Equipment
NT (Network Terminal) เป็นส่วนที่ต่อระหว่างสายที่มี 4 เส้นตีเกลียวกับ สาย PSTN 2 เส้นด้าน Local loop ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด�
- NT1 เป็นส่วนที่ติดต่อโดยตรงกับ ISDN ภายนอกกับส่วน NT2
- NT2 สำหรับ digital PBX หรือส่วนที่ยอมให้มีการต่อ analog device เช่น โทรศัพท์ หรือ Fax แล้วเปลี่ยนเป็น Digital
- NT1/2 จัดการทั้ง 2 ส่วนคือทั้ง NT1 และ NT2

3. ISDN Reference Point
จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
R เป็นจุดต่อระหว่าง Non-ISDN หรืออุปกรณ์โทรศัพท์ทั่วไปกับ TA
- S เป็นจุดต่อระหว่าง อุปกรณ์สำหรับ ISDN แล้วกับ NT2
- T เป็นจุดต่อระหว่าง NT1 กับ NT2 device
- U เป็นจุดต่อระหว่าง NT1 Device กับ วงจรภายนอก
- ในปัจจุบันอุปกรณ์ ISDN นั้นจะรวมชุด NT1 เข้ามาด้วยแล้วทำให้งานกับการใช้งานมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: