วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

IP Address

IP Address
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก เช่นเครื่อง einstein ซึ่งเป็น Internet Server ของภาควิชาฟิสิกส์ มี IP Address เป็น 202.28.156.98 ตัวเลขที่เป็น IP Address เป็นตัวเลขขนาด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ชุดๆ ละ 8 บิต ดังนั้นตัวเลข 1 ชุดที่เราเห็นคั่นด้วยจุดนั้น จึงแทนได้ด้วยตัวเลขจาก 0 ถึง 255ตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ network number และ ส่วนของ host number โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเน็ตเวอร์ค class ใด ซึ่ง class ของเน็คเวอร์คแบ่งออกเป็น 4 classes ดังนี้
Class A เป็นเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่ มี network number ตั้งแต่ 1.0.0.0 ถึง 127.0.0.0 นั่นคือใน class นี้นั้น จะมีส่วนของ host number ถึง 24 บิตซึ่งอนุญาตให้มีจำนวนเครื่องได้ 1.6 ล้านเครื่องใน 1 เน็ตเวอร์ค ซึ่งจะมีเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่แบบนี้ได้เพียง 127 เน็ตเวอร์คเท่านั้น
Class B เป็นเน็ตเวอร์คขนาดกลาง มี network number ตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.0.0 นั่นคือใน class นี้มีส่วนของ network number 16 บิต และส่วนของ host number ได้ 16 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 16320 เน็ตเวอร์ค และ 65024 hosts
Class C เป็นเน็ตเวอร์คขนาดเล็ก มี network number ตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.0 นั่นคือใน Class นี้มีส่วนของ network number 24 บิต และ ส่วนของ host number 8 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 2 ล้านเน็ตเวอร์คและมีจำนวน host ในแต่ละเน็ตเวอร์คเท่ากับ 254 hosts
Class D เป็นส่วนที่เก็บรักษาไว้สำหรับใช้ในอนาคต มี IP Address ตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 254.0.0.0
Domain Name System (DNS)
เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต เราก็จะใช้ชื่อ DNS เช่น www.nectec.or.th แต่ในการใช้งานจริงนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ เมื่อรับคำสั่งจากเราแล้ว เค้าจะขอ (request) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการบอกเลขหมาย IP Address (ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ Yellow Pages) ซึ่งเรียกกันว่าเป็น DNS Server หรือ Name Server ตัว Name Server เมื่อได้รับ request ก็จะตอบเลขหมาย IP Address กลับมาให้เช่น สำหรับ www.nectec.or.th นั้นจะตอบกลับมาเป็น 164.115.115.9 จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจึงจะเริ่มทำการติดต่อ กับคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งมันก็จะผ่านกระบวนการแบบที่กล่าวไปข้างต้น คือแบ่งข้อมูลออกเป็น packet จ่าหัวด้วย IP จากนั้นส่ง packet ไปซึ่งก็จะวิ่งผ่าน gateway ต่างๆ มากมายไปยังเป้าหมาย
บางทีเราจะพบกรณีที่คอมพิวเตอร์ที่เป็น Name Server นั้นไม่ทำงาน เราจะไม่สามารถติดต่อเครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตได้อีกต่อไปโดยใช้ชื่อ DNS หากเราทราบ IP Address เราสามารถใช้ IP Address ได้ตรงๆ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องพึ่งสมุดโทรศัพท์ของ Name Server ด้วยเหตุนี้เราจึงทำการเก็บชื่อและ IP Address ไว้ในสมุดโทรศัพท์ส่วนตัวประจำเครื่อง เช่นบนระบบยูนิกซ์มีไฟล์ /etc/hosts เอาไว้เก็บชื่อ DNS ที่ใช้บ่อยๆ
ระบบการตั้งชื่อ DNS นั้นคล้ายกับระบบไปรษณีย์ โดยมีประเทศอยู่หลังสุด เช่น .th
คือ ประเทศไทย .de คือประเทศเยอรมัน .uk คือ ประเทศสหราชอาณาจักร แต่สำหรับสหรัฐอเมริกานั้นยกเว้น จากนั้นจะแบ่งเครือข่ายออกเป็น
- edu หรือ .ac เครือข่ายมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษา
- com หรือ .co เครือข่ายบริษัท ห้างร้าน- mil เครือข่ายทางการทหาร
- org หรือ .or เครือข่ายองค์การที่ไม่หวังผลกำไร (พรรคการเมืองไทยก็ใช้ระบบนี้)
- gov หรือ .go เครือข่ายหน่วยงานของรัฐบาล
- net หรือ .net เครือข่ายของผู้ดูแลเน็ตเวอร์ค หรือ เจ้าของเน็ตเวอร์ค
สิ่งที่ต้องทราบในการต่อเครื่องเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต
1. IP Address ของ เครื่องนั้น ยกเว้นเราใช้ Automatic Setting โดย bootp Server หรือ Server อื่นๆ จะกำหนดให้โดยการร้องขอ ซึ่ง IP Address นั้นอาจไม่เหมือนกันในแต่ละครั้งทีเปิดใช้
2. IP Address ของ Gateway
3. IP Address ของ Name Server4. Network Address หรือ Subnet Mask เพื่อให้ทราบว่าเน็ตเวอร์คของเรามีความกว้างของเลข IP เท่าใด เพื่อกำหนดการติดต่อว่าจะติดต่อภายในเน็ตเวอร์คเดียวกัน หรือ นอกเน็ตเวอร์ค
SLIP และ PPP
คงเคยได้ยินคำ 2 คำนี้มาบ้าง โดยเฉพาะเมื่อต้องการต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน MODEM และสายโทรศัพท์ โดยปรกติแล้ว TCP/IP นั้นเปรียบเสมือนรถบรรทุกสินค้าที่ใช้ขนข้อมูลในรูป packet ไปยังที่ต่างๆ ซึ่งรถบรรทุกนั้นสามารถวิ่งบนถนนทั้งแบบลาดยาง แบบคอนกรีต หรือแบบลูกรัง ในสภาวะที่เป็น LAN นั้น TCP/IP วิ่งอยู่บน Frame ที่เป็น Ethernet ซึ่งมารองพื้น เปรียบเสมือนถนนให้รถบรรทุกวิ่งบนสายโทรศัพท์ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีระบบที่มารองพื้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถวิ่งได้ ตัว Protocol ที่ใช้ก็จะมีความแตกต่างจาก Ethernet เพราะคนละ medium กัน ซึ่งก็มีอยู่ 2 แบบ คือ Serial Line Internet Protocol (SLIP) และ Point to Point Protocol (PPP) ตัวโปรโตคอลทั้ง 2 นี่คล้ายกัน เพียงแต่ SLIP เกิดจากการทดลองแล้วพัฒนามาเป็น PPP ซึ่งมีมาตรฐานกว่า การต่อ Windows 95 เข้ากับอินเตอร์เน็ตนี่ สามารถต่อได้ทั้งเข้ากับ LAN โดยใช้ Network Card และต่อแบบ Dial-Up ซึ่ง Windows 95 ก็มี PPP ให้ใช้อยู่แล้ว หรือจะต่อทั้ง 2 อย่างในขณะเดียวกันก็ได้ ซึ่งเครื่องสามารถแยกแยะได้ว่าหากเราใช้ LAN ก็จะให้ packet เดินผ่าน Network Card แต่หากติดต่อข้างนอก ก็จะผ่าน MODEM แทน ซึ่งผมก็ใช้งานแบบนี้อยู่ ค่อนข้างดีไม่มีปัญหา
World Wide Web (WWW) หรือ WEB
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบัน จุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน
ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิดได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทางกราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการของ WEB
ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมทสินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า (Customer Supports & Customer Services) การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิงพาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่านเพื่อพัฒนาตลาด (Seeding the Market) ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโตในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE ได้ทำการแจก Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้จากการบริการใหม่อื่น ๆ ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่พอ หรือมี economy of scale สำหรับการดำเนินกิจกรรมพาณิชย์เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณาเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกากำลังมีความตื่นตัวในการใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic or Digital Money) ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนธนบัตรกระดาษ สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ตได้ทันที มีการคาดการณ์กันว่าเงินตราอิเล็กทรอนิกส์จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก และจะก่อให้เกิดการปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของธุรกิจทั่วโลกหลังปี ค.ศ. 2000 นี้
Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Hypertext Markup Language (HTML)
จะว่าไปแล้ว HTTP กับ HTML นั้นก็เหมือนกาแฟกับคอฟฟี่เมท โดย HTTP คือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่าง client computer กับ server computer ทำให้ทั้งสองเครื่องรู้ว่าจะจัดการส่งข้อมูลไปอย่างไร ส่วน HTML คือสื่อภาษาที่ทำให้เอกสารหรือ contents ที่อยู่บนเครื่อง server computer เมื่อถูกส่งมาที่ client computer แล้วจะนำไปแสดงได้อย่างไร เราเรียกซอฟท์แวร์ที่ใช้แสดงนี้ว่า Browser
ข้อดีของการแยกชั้นการทำงานระหว่าง HTTP กับ HTML
1. Contents
- พัฒนาบนเครื่องแบบใดก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray etc. มีเครื่องมือช่วยในการพัฒนามากมาย
2. Web Server
- เครื่องที่ใช้เป็น Web Server เป็นเครื่องใดๆ ก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray ในแต่ละ Platform มี โปรแกรม Web Server ให้เลือกมากมาย
3. Client Computer
- เครื่องที่ใช้เป็น Client Computer เป็นเครื่องใดๆ ก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray, TV with Set-Top Box, Pen Computer etc.
4. Browser
- โปรแกรม Browser มีให้เลือกใช้มากมายบน PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray, TV with Set-Top Box, Pen Computer etc.

ระบบเครือข่าย

Basic Network
พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย
เชื่อว่าทุก ๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบเครือข่าย หรือ Network มาบ้างแล้ว เพราะจริง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ก็มีการติดต่อสื่อสารถึงกัน โดยใช้ระบบเครือข่าย เช่น การโทรศัพท์พูดคุยกัน, การดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่การเบิก ถอนเงิน กับธนาคารด้วยเครื่องถอนเงินอัตโนมติ ATM และที่คุณกำลังอ่านข้อมูลผ่านทาง internet อยู่นี้ นั่นคือ คุณกำลังใช้งานในระบบเครือข่ายอยู่เหมือนกัน เราถือว่า internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่มากที่สุดในโลก... สิ่งเหล่านี้พอจะทำให้คุณเข้าใจบ้างไหมว่า ระบบเครือข่ายมีประโยชน์มากมายเพียงใด?
ประเภทของคอมพิวเตอร์
1.Main Frame ถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด มีราคาสูงมาก มักใช้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น การดูแลจำเป็นจะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ
2.Mini Computer or LAN คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก การลงทุนไม่สูงมากนัก ถือได้ว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในธุรกิจ SME
3.Personnel Computerคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เครือข่าย LAN กับ WAN
1.Local Area Network (LAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับท้องถิ่น เช่นภายในตึกเดียวกัน
2.Wide Area Network (WAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล เช่นระหว่างเมือง หรือระหว่างประ
เทศ
สำหรับระบบเครือข่าย หรือ Network ที่จะกล่าวต่อไป จะเน้นในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือ LAN (Local Area Network)
ระบบเครือข่าย คือ การนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาต่อพ่วงกัน เพื่อใช้ในการสื่อสารถึงกัน ใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้ง ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน เช่น printer, harddisk เป็นต้น ระบบเครือข่าย ที่เป็นที่นิยมได้แก่ ระบบแลน (LAN : Local AreaNetwork)
Peer to Peer
ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB
ข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer
1.ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ
2.สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
3.ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ดี
Client / Server
ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่ายคือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น
ข้อดีของการต่อแบบ Client / Server
1.สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
2.มีระบบ Security ที่ดีมาก
3.รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี
4.สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

windows server 2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)
เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System[แก้] ภาพรวมวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงานในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
Windows Small Business Server 2003
Windows Server 2003 Web Edition
Windows Server 2003 Standard Edition
Windows Server 2003 Enterprise Edition
Windows Server 2003 Datacenter Edition
Windows Compute Cluster Server 2003

Ubuntu

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)
เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System[แก้] ภาพรวมวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงานในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
Windows Small Business Server 2003
Windows Server 2003 Web Edition
Windows Server 2003 Standard Edition
Windows Server 2003 Enterprise Edition
Windows Server 2003 Datacenter Edition
Windows Compute Cluster Server 2003